แผนตรวจสุขภาพวัย 35-50 ปี (Adult Check-up)
วัยนี้เป็นวัยที่แบกภาระรับผิดชอบครอบครัว ทั้งลูกที่ยังไม่โตเต็มที่และบิดามารดาที่ชราภาพลง หากดำเนินชีวิตไม่ถูกวิธีก็จะเริ่มพบกับโรคภัยไข้เจ็บและมะเร็งระยะเริ่มต้น เพศชายมักเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเกาท์ ไขมันพอกตับในวัยนี้ หากมีอาการเหนื่อยง่าย แน่นออกเวลาเดินหรือออกแรงจำเป็นต้องตรวจหัวใจอย่างละเอียด เพศหญิงมักยังไม่มีโรคหัวใจจนหลังวัยหมดระดู แต่จะเริ่มพบมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และเบาหวานในวัยนี้ ทั้งสองเพศถ้าอ้วนมากก็จะส่งผลถึงระบบทางเดินหายใจ ข้อเข่า ข้อสะโพก การคัดกรองโรควัยนี้จึงเน้นตรวจคัดกรองโรคมะเร็งด้วย ซึ่งอาจรวมถึงการทำอัลตราซาวด์ช่องท้องเพื่อดูเนื้อตับ นิ่วในถุงน้ำดี/ท่อน้ำดี เนื้องอกของท่อน้ำดี ความสมบูรณ์ของไต และเนื้องอกที่ตับอ่อน การตรวจอุจจาระเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องทางเดินอาหารเมื่อมีอาการผิดปกติหรือผลตรวจอุจจาระผิดปกติ
รายการตรวจสุขภาพที่แนะนำในวัย 35-50 ปี
สำหรับหญิง (ไม่มีครรภ์)
- รายการพื้นฐาน
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินภาวะอ้วน
- วัดความดันโลหิต
- นับชีพจร
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
- ตรวจปัสสาวะทั่วไป ขณะไม่มีรอบเดือน (UA)
- ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
- ตรวจการทำงานของตับและน้ำดี (ALT, Bilirubin)
- ตรวจไขมันในเลือด 4 ตัว (Lipid profile) ได้แก่
Cholesterol, Triglyceride, HDL, และ LDL
- ตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FBS)
- เอกซเรย์ทรวงอก
- ประเมินโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดในอีกสิบปี
- รายการเพิ่มเติมตามความเสี่ยง
- ตรวจน้ำตาลสะสม (HbA1c) - ถ้าเคยมีน้ำตาลเกินหรือมีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน
- ตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และภูมิคุ้มกัน (HBsAg, anti-HBs) - ถ้าไม่เคยตรวจ และมีคนในบ้านติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
- ตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (anti-HCV) - ถ้าไม่เคยตรวจ และมีคนในบ้านติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
- ตรวจกรดยูริกในเลือด (Uric acid) - ถ้าเริ่มมีปวดบวมข้อนิ้วโป้งของเท้า หรือข้อเท้าเป็นพัก ๆ
- คัดกรองโรคในช่องท้อง (Alpha-fetoprotein, AFP)
- อัลตราซาวด์ช่องท้อง (U/S whole abdomen) - ถ้ายังไม่เคยทำมาก่อน ถ้าเคยตรวจแล้วปกติควรทำซ้ำทุก 5 ปี
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) -
ถ้ารู้สึกใจเต้นผิดปกติ
- ตรวจไทรอยด์ (TSH, FT3, FT4) -
ถ้ามีคอโต มือสั่น ใจเต้นเร็ว หรือเซื่องซึม ไม่มีแรง
- ตรวจพยาธิในอุจจาระและคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Stool exam & occult blood)
- ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) -
ถ้าพบเม็ดเลือดแฝงในอุจจาระ หรืออุจจาระเป็นเลือดปนกาก
- ส่องกล้องกระเพาะอาหาร (EGD) Endoscopy of upper GI-tract -
ถ้าปวดหรือแสบร้อน ที่ลิ้นปี่หรือหน้าอก บ่อย ๆ
- คัดกรองมะเร็งเต้านม (Mammogram and ultrasound) -
ถ้าคลำได้ก้อนที่เต้านม หรือมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม
- ตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (PV & PAP) -
ถ้ามีเพศสัมพันธ์มาแล้ว 3 ปีขึ้นไป หรือเคยติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
สำหรับชาย
- รายการพื้นฐาน
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินภาวะอ้วน
- วัดความดันโลหิต
- นับชีพจร
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
- ตรวจปัสสาวะทั่วไป (UA)
- ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
- ตรวจกำรทำงานของตับและน้ำดี (ALT, Bilirubin)
- ตรวจไขมันในเลือด 4 ตัว (Lipid profile) ได้แก่
Cholesterol, Triglyceride, HDL, และ LDL
- ตรวจน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FBS)
- ตรวจระดับกรดยูริกในเลือด (Uric acid)
- เอกซเรย์ทรวงอก
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ประเมินโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดในอีกสิบปี
- รายการเพิ่มเติมตามความเสี่ยง
- ตรวจน้ำตาลสะสม (HbA1c) - ถ้าเคยมีน้ำตาลเกินหรือมีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน
- ตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และภูมิคุ้มกัน (HBsAg, anti-HBs) - ถ้าไม่เคยตรวจ และมีคนในบ้านติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
- ตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (anti-HCV) - ถ้าไม่เคยตรวจ และมีคนในบ้านติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
- คัดกรองโรคในช่องท้อง (Alpha-fetoprotein, AFP)
- อัลตราซาวด์ช่องท้อง (U/S whole abdomen) - ถ้ายังไม่เคยทำมาก่อน ถ้าเคยตรวจแล้วปกติควรทำซ้ำทุก 5 ปี
- ตรวจไทรอยด์ (TSH, FT3, FT4) -
ถ้ามีคอโต มือสั่น ใจเต้นเร็ว หรือเซื่องซึม ไม่มีแรง
- ตรวจพยาธิในอุจจาระและคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Stool exam & occult blood)
- ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) -
ถ้าพบเม็ดเลือดแฝงในอุจจาระ หรืออุจจาระเป็นเลือดปนกาก
- ส่องกล้องกระเพาะอาหาร (EGD) Endoscopy of upper GI-tract -
ถ้าปวดหรือแสบร้อน ที่ลิ้นปี่หรือหน้าอก บ่อย ๆ
- ตรวจหัวใจขณะออกแรง (Exercise stress test, EST) - ถ้ามีอาการแน่นอกตอนทำงาน, เดินไกล, หรือหลังทานอาหาร
ท่านสามารถแปลผลตรวจสุขภาพด้วยตนเองได้ ที่นี่
บรรณานุกรม
- กรมการแพทย์. 2565. "แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๕." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ (28 กรกฎาคม 2566).