ยาปฏิชีวนะเป็นหนึ่งในยาต้านจุลชีพที่ออกฤทธิ์เฉพาะกับเชื้อแบคทีเรีย ยาอาจมีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อริกเค็ทเซีย คลาไมเดีย และแบคทีเรียชั้นสูงบางตัวด้วย แต่ไม่ครอบคลุมเชื้อไวรัส ดังนั้นจึงไม่มีประโยชน์ในการใช้ยาปฏิชีวนะ (หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันตามความเข้าใจว่า "ยาฆ่าเชื้อ") รักษาโรคติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก หัด อีสุกอีใส คางทูม ฯลฯ
กลไกการไม่ตอบสนองต่อยาของแบคทีเรียอาจมาจากธรรมชาติ เช่น แบคทีเรียกรัมลบส่วนใหญ่ไม่ตอบสนองต่อยาเพนิซิลลินทั้ง ๆ ที่ต้องมีการสร้างผนังเซลล์เช่นกัน ขณะที่แบคทีเรียกรัมบวกส่วนใหญ่ไม่ตอบสนองต่อยากลุ่มอะมิโนกลัยโคไซด์ทั้ง ๆ ที่ต้องมีการสร้างโปรตีนมาใช้ภายในเซลล์เหมือนกัน กลไกที่มีมาตามธรรมชาตินี้จึงเป็นสาเหตุให้ต้องมีการคิดค้นยาต้านเชื้อจุลชีพกลุ่มต่าง ๆ ให้สามารถรักษาแต่ละโรคติดเชื้อซึ่งเกิดจากจากแบคทีเรียหลากหลายชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลไกการไม่ตอบสนองต่อยาของแบคทีเรียยังมาจากอีกส่วนหนึ่ง คือการปรับตัวของแบคทีเรียเองเมื่อเคยรับยาซ้ำ ๆ แล้วยังไม่ตาย กลไกการปรับตัวของแบคทีเรียเพื่อให้ดื้อต่อยาปฏิชีวนะแบบนี้ ในปัจจุบันพบว่ามี 5 วิธีหลัก คือ
ในแบคทีเรียตัวหนึ่ง ๆ อาจปรับตัวเองได้หลายวิธีจนทำให้มันสามารถดื้อยาได้พร้อมกันหลายขนาน ซึ่งน่ากลัวมาก ผู้ป่วยซึ่งป่วยด้วยโรคติดเชื้อที่มียารักษาเพียงไม่กี่ขนาน แล้วเชื้อตัวนั้นดื้อยาหมดทุกขนานเป็นผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนั้น กลไกการปรับตัวให้ดื้อยาปฏิชีวนะเหล่านี้ยังสามารถถ่ายทอดสู่ลูกหลานของมันเองได้ (Vertical gene transfer) อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดข้ามสายพันธุ์ไปสู่แบคทีเรียชนิดอื่นได้ (Horizontal gene transfer) กลไกการถ่ายทอดยีนดื้อยาข้ามสายพันธุ์ที่พบว่าเกิดขึ้นในปัจจุบันมี 3 วิธี คือ
1. Conjugation เกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียสองตัวอยู่ใกล้กันจนสามารถส่งต่อชิ้นส่วนของดีเอ็นเอ หรือที่เรียกว่า plasmids ให้แก่กันได้ เป็นวิธีการถ่ายทอดหลักของสิ่งมีชีวิต
2. Transformation เป็นขบวนการที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม โดยแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตรับเอาซากชิ้นส่วนดีเอ็นเอของแบคทีเรียที่ตายแล้วเข้ามาในตัว
3. Transduction เป็นขบวนการนำพาชิ้นส่วนดีเอ็นเอของแบคทีเรียตัวหนึ่งเข้าสู่แบคทีเรียอีกตัวหนึ่งโดยไวรัส (bacteriophages)
ตารางข้างล่างแสดงข้อบ่งชี้ ผลข้างเคียงหรือพิษที่มีรายงานแล้ว รวมทั้งข้อควรระวังของยาปฏิชีวนะกลุ่มต่าง ๆ ที่มักใช้กันโดยยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่แน่ชัด (ข้อบ่งชี้ต้องอาศัยการตรวจร่างกายโดยแพทย์ และ/หรือ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ)
| กลุ่ม/ตัวอย่างยา | ข้อบ่งชี้ | ผลข้างเคียง/พิษ /ข้อควรระวัง |
P E N I C I L L I N S | Penicillin V | ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกของ - ทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดที่มีแบคทีเรียแทรกซ้อน, คออักเสบจากแบคทีเรีย, ต่อมทอนซิลอักเสบ, ปอดบวม เป็นต้น - ผิวหนัง เช่น โรคเซลล์เนื่อเยื่ออักเสบ, โรคไฟลามทุ่ง, โรคพุพอง, บาดแผลจากสัตว์หรือคนกัด เป็นต้น - ระบบอื่น ๆ เช่น เหงือกอักเสบ, ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ, ไข้รูมาติก เป็นต้น | ผลข้างเคียง: อาการแพ้ เช่น ผื่นคัน ลมพิษ แน่นหน้าอก ใจสั่น หอบ เป็นลมหรือช็อกได้
พิษ: การใช้ยาในขนาดสูงเป็นเวลานานอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ไตอักเสบ (Interstitial nephritis) เม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic anemia) หรือมีไข้ขึ้น (Drug fever) ได้
ข้อควรระวัง: คนที่เคยมีประวัติแพ้ยาตัวใดตัวหนึ่งในกลุ่มนี้ ห้ามใช้ยาตัวอื่นในกลุ่มนี้อีกต่อไป |
Aminopenicillins | มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้กว้างขวาง ทั้งกรัมบวกและกรัมลบ ใช้รักษาโรคติดเชื้อของ - ทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดที่มีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน, คออักเสบจากแบคทีเรีย, ต่อมทอนซิลอักเสบ, หลอดลมอักเสบ, หลอดลมฝอยอักเสบ, ปอดบวม, ไซนัสอักเสบ, ครู้ป (CROUP) จากแบคทีเรีย เป็นต้น - หู เช่น หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน - ทางเดินอาหาร เช่น โรคบิด, ไข้ไทฟอยด์, เหงือกอักเสบ, แผลอักเสบจากการถอนฟัน เป็นต้น - ทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กรวยไตอักเสบ, ท่อปัสสาวะอักเสบ, หนองใน เป็นต้น - ผิวหนัง เช่น แผลเปื่อย, แผลอักเสบติดเชื้อ, ฝี, ตุ่มหนอง, โรคพุพอง เป็นต้น |
Penicillinase-resistant-penicillins | ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียสแตฟีโลค็อกคัส (Staphylococcus) โดยเฉพาะที่ผิวหนัง เช่น ฝี, ตุ่มหนอง, แผลติดเชื้อ, โรคพุพอง, โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ, กุ้งยิง, หนังตาอักเสบ, ถุงน้ำตาอักเสบ, หูชั้นนอกอักเสบ, ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เป็นต้น |
Aminopenicillins + β-lactamase inhibitors - Augmentin® (Amoxicillin + Clavulanic acid)
- Unasyn® (Ampicillin + Sulbactam)
| ยากลุ่มนี้มีข้อบ่งชี้เหมือน Aminopenicillins แต่โอกาสเชื้อดื้อยาจะน้อยกว่าเพราะมียาผสมที่ยับยั้งเอ็นไซม์ β-lactamase ของเชื้อ ซึ่งมาพร้อมกับราคาที่แพงขึ้น |
C E P H A L O S P O R I N S | 1st generation- Cefadroxil
- Cephalexin
- Cephradine
| มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้กว้างขวาง ทั้งกรัมบวกซึ่งรวมทั้ง S. aureus, S. epidermidis และกรัมลบบางตัวเช่น E. Coli,
Klebsiella ดังนั้นจึงใช้รักษาโรคติดเชื้อของ - ทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดที่มีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน, คออักเสบจากแบคทีเรีย, ต่อมทอนซิลอักเสบ, หลอดลมอักเสบ, หลอดลมฝอยอักเสบ, ปอดบวม, ไซนัสอักเสบ, ครู้ป (CROUP) จากแบคทีเรีย - หู เช่น หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน - ผิวหนัง เช่น แผลอักเสบติดเชื้อ, ฝี, ตุ่มหนอง, โรคพุพอง - ทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กรวยไตอักเสบ, ท่อปัสสาวะอักเสบ - อวัยวะอื่น เช่น เหงือกอักเสบ, แผลอักเสบจากการถอนฟัน, กระดูกอักเสบ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น | ผลข้างเคียง: อาการแพ้เหมือนในกลุ่ม PENICILLINS แต่เกิดน้อยกว่า (10% ของผู้ที่แพ้ยากลุ่ม PENICILLINS จะแพ้ยาในกลุ่ม CEPHALOSPORINS ด้วย)
พิษ: การใช้ยาในขนาดสูงเป็นเวลานาน ๆ อาจเกิด Coombs-positive anemia (3%)
ข้อควรระวัง: ยากลุ่มนี้มีปฏิกิริยากับยาอื่นหลายตัว เช่น ยารักษาโรคกระเพาะ, วัคซีน BCG, วัคซีนไทฟอยด์ จึงไม่ควรใช้ร่วมกัน ควรเว้นระยะห่างกันประมาณ 2-3 วัน ยากลุ่มนี้บางตัวมีรายงานของการเกิด Disulfiram reaction ถ้าดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างที่ใช้ยานี้ Disulfiram reaction จะเกิดภายใน 15-30 นาทีหลังดื่มแอลกอฮอล์ โดยอาจมีอาการได้หลายแบบ เช่น อาเจียน เหงื่อออกมาก ชา อ่อนแรง เคลื่อนไหวผิดปกติ คลุ้มคลั่ง ผิวหนังลอก ตับอักเสบ ดีซ่าน มองไม่เห็นภาพ เม็ดเลือดผิดปกติ เกิดเมทฮีโมโกลบินในเลือด (Methemoglobinemia) ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในระหว่างที่ใช้ยากลุ่มนี้ |
2nd generation- Cefaclor
- Cefprozil
- Cefuroxime
- Loracarbef
| เหมือน 1st generation แต่ครอบคลุมกรัมลบได้มากขึ้น จึงนิยมใช้ในการติดเชื้อที่รุนแรงขึ้น |
3rd generation- Cefdinir
- Cefditoren
- Cefixime
- Cefpodoxime
- Ceftibuten
| เหมือน 2nd generation แต่ครอบคลุมกรัมบวกได้น้อยลงและกรัมลบได้กว้างขวางขึ้น จึงนิยมใช้รักษาการติดเชื้อที่รุนแรงที่จำเป็นต้องใช้ยาฉีดในระยะแรก เมื่อดีขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นยากินต่อจนครบระยะเวลาในการรักษา |
F L U O R O Q U I N O L O N E S | 1st generation | ใช้รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกที่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโต (Aerobic gram positive bacteria) เช่น Streptococcus | ผลข้างเคียง: อาการแพ้ เช่น ผื่นแดง ผื่นคัน ลมพิษ ผิวหนังลอกเมื่อถูกแสง ปวดข้อ ข้อบวม เอ็นอักเสบ เอ็นฉีกขาด คลื่นไส้ ท้องเสีย เป็นลมหรือช็อกได้
พิษ: การใช้ยานี้ในขนาดสูงเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท เช่น ชัก ชา อ่อนแรง ง่วงซึม ปวดศีรษะ เวียนศรีษะ เห็นภาพผิดปกติ เม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic anemia) ดีซ่าน เกิดภาวะกรดในเลือด (Metabolic acidosis) ได้
ข้อควรระวัง: ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก, มีภาวะพร่องเอ็นไซม์ G-6-P-D, ผู้ที่ต้องใช้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาขยายหลอดลมเป็นประจำ, และไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์รวมถึงช่วงที่ให้นมบุตร |
2nd generation- Ofloxacin
- Norfloxacin
- Ciprofloxacin
| มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้กว้างขวางขึ้น ทั้ง Aerobic gram positive, Mycoplasma, Gram negative และ Pseudomonas ใช้รักษาโรคติดเชื้อของ - ทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, ต่อมลูกหมากอักเสบ, กรวยไตอักเสบ, หนองใน เป็นต้น - ทางเดินอาหาร เช่น โรคบิดไม่มีตัว, อหิวาตกโรค, ลำไส้อักเสบ, เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นต้น |
3rd generation | ยาถูกออกแบบมาให้คลุมแบคทีเรียกรัมบวกได้มากขึ้น ทำให้สามารถใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจ ผิวหนัง หู กระดูกและข้อ และโรคแอนแทรกซ์ได้ นอกเหนือจากโรคที่ 2nd generation บ่งชี้ |
4th generation | คลุมเชื้อเหมือน 3rd generation + Anaerobes, Chlamydia, และเชื้อ Streptococcus pneumoniae ที่ดื้อยาตัวอื่น ๆ จัดเป็นยาปฏิชีวนะชนิดกินที่ออกฤทธิ์กว้างมาก ซึ่งค่อนข้างน่ากลัวหากผู้ป่วยหาซื้อรับประทานเอง เพราะยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงมากมายหลายระบบ และบางครั้งก็รุนแรง |
M A C R O L I D E S | ยากลุ่มนี้เป็น Bacteriostatic ได้แก่- Erythromycin
- Azithromycin
- Clarithromycin
| - ใช้รักษาโรคติดเชื้อจาก Streptococcus, H. influenzae, Mycoplasma pneumoniae, Chlamydia เช่น ไซนัสอักเสบ, หูชั้นกลางอักเสบ, คอตีบ, ไอกรน, หลอดลมอักเสบ, ปอดบวมจากเชื้อไมโคพลาสมา, โรคริดสีดวงตา, อหิวาตโรค, บิดอะมีบา, แผลริมอ่อน, ซิฟิลิส, หนองในเทียม, ฝีมะม่วง - ใช้รักษาโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง หู จมูก ช่องปาก ในผู้ป่วยที่แพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน - ใช้รักษาโรคติดเชื้อ Staphylococcus (แทน Cloxacillin) ในผู้ป่วยที่แพ้เพนิซิลลิน | ผลข้างเคียง: มวนท้อง คลื่นไส้ ท้องเดิน พิษ: หากใช้ติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์ อาจเกิดตับอักเสบ ข้อควรระวัง: 1. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ 2. ห้ามใช้ร่วมกับยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง ชื่อเทอร์เฟนาดีน (Terfenadine) เพราะอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนถึงหยุดเต้นได้ 3. ให้ระวังการใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้: กลุ่ม Benzodiazepines, Clozapine, Carbamazepine, Cisapride, Disopyramide, Ergotamine, กลุ่ม HMG-CoA Reductase Inhibitors, Quinidine, Theophylline, Warfarin เพราะจะทำให้ระดับยาของทั้งคู่สูงขึ้น หากกำลังใช้ตัวใดตัวหนึ่งในขนาดสูงอยู่แล้ว ระดับที่สูงขึ้นก็อาจเป็นพิษได้ |
T E T R A C Y C L I N E S | ยากลุ่มนี้เป็น Bacteriostatic ได้แก่- Tetracycline
- Doxycycline
- Minocycline
- Demeclocycline
| - ใช้รักษาโรคติดเชื้อริกเค็ทเซีย (ไข้ไทฟัส), ไมโคพลาสมา (ปอดบวม), สไปโรคีตส์ (โรคไลม์ โรคเล็ปโตสไปโรซิส ซิฟิลิส), คลาไมเดีย (ริดสีดวงตา หนองในเทียม) - ใช้รักษาสิวที่ติดเชื้อ - ใช้รักษาอหิวตกโรค - เป็นยาร่วมตัวหนึ่งในการรักษาและป้องกันไข้มาลาเรียชนิดฟาลซิพารัม | ผลข้างเคียง: คลื่นไส้อาจียน ท้องเดิน ผื่นเมื่อโดนแดด ปากอักเสบ ปวดศีรษะ ทำให้ฟันมีสีเหลือง และยับยั้งการเจริญเติบโตของกระดูก
พิษ: ในขนาดสูงมีพิษต่อตับ ไต
ข้อควรระวัง: ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี, ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์และช่วงที่ให้นมบุตร, และห้ามใช้ในคนที่เป็นโรคตับหรือไตอยู่ก่อน |
M E T R O N I D A Z O L E | Metronidazole | เป็นยาที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ชอบออกซิเจน (Anaerobes) ได้ดี จึงใช้รักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจาก Anaerobes เช่น ฝีในตับ ฝีในช่องท้อง การอักเสบหรือแตกทะลุของทางเดินอาหาร
Metronidazole ยังเป็นยาหลักที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อโปรโตซัวบางตัว เช่น โรคบิดอะมีบา, โรคทริโฆโมนิเอสิส (Trichomoniasis) | ผลข้างเคียง: คลื่นไส้อาเจียน รู้สึกมีรสปร่าในปาก แสบปากแสบลิ้น
พิษ: ในขนาดสูงอาจทำให้ชัก วิงเวียน เสียการทรงตัว
ข้อควรระวัง: Disulfram reaction ซึ่งพบบ่อยกว่ายากลุ่ม CEPHALOSPORINS ดังนั้นจึงห้ามดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในช่วงที่ใช้ยานี้โดยเด็ดขาด |
C H L O R A M P H E N I C A L | Chloramphenicol | เป็น Bacteristatic ที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อเขตร้อนได้อย่างกว้างขวาง ทั้งไทฟอยด์ ไทฟัส บาดทะยัก แอนแทรกซ์ อีกทั้งยายังเข้าเนื้อสมองได้ดีมาก ทำให้ใช้รักษาโรคติดเชื้อทางสมองได้ดี นอกจากนั้นยายังคลุมพวก Anaerobes รวมทั้ง Clostridium perfringens ซึ่งทำให้เกิดโรคหนังเน่า (Necrotizing fasciitis) แต่เนื่องด้วยผลข้างเคียงที่รุนแรงจึงจัดเป็นยาอันตรายที่จำกัดการใช้ในรูปของยาหยอดตา/หู ยาป้ายตา/แผล และยาฉีดสำหรับใช้ในโรงพยาบาล แต่ยารับประทานก็ยังมีอยู่ ประชาชนไม่ควรซื้อหามารับประทานเอง | ผลข้างเคียง: - คลื่นไส้อาเจียน ท้องเดิน ปากเปื่อย ปากเป็นแผล - กดการเจริญเติบโตของไขกระดูก ก่อให้เกิดโรคโลหิตจางชนิด Aplastic anemia - มีรายงานการฉีดคลอแรมเฟนิคอลเข้าทางหลอดเลือดดำของเด็กทารกแรกคลอดเพื่อรักษาโรคติดเชื้อ ตัวยาก่อให้เกิดอาการข้างเคียงที่เรียกว่า Gray baby syndrome คือเด็กมีอาการอาเจียน ท้องอืด ไม่ดูดนม ตัวเขียว เนื้อตัวอ่อนปวกเปียก ความดันโลหิตต่ำ ตัวเย็น ช็อก หมดสติ และเสียชีวิตใน 2-3 ชั่วโมง) - อาจทำให้เกิดอาการโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก ในรายที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-P-D ข้อควรระวัง: - ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 4 เดือน, หญิงตั้งครรภ์, หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร, ผู้ป่วยโรคของไขกระดูก - ให้ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต |
L I N C O S A M I D E S | ยากลุ่มนี้เป็น Bacteriostatic ได้แก่กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยได้บรรจุยา Clindamycin ลงในบัญชียาหลักแห่งชาติ ทำให้เกิดการใช้กันแพร่หลายขึ้น แต่ยาก็มีผลข้างเคียงที่สำคัญ | ยากลุ่มนี้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Bacteroides fragilis, Anaerobes, S. aureus, S. coagulase-negative, Streptococcus ได้ดี ยาซึมผ่านเข้าเนื้อกระดูกได้ดีมาก ทำให้ใช้รักษาโรคติดเชื้อของ - กระดูก - ในช่องท้อง - การติดเชื้อในช่องปาก - รักษาสิวที่ติดเชื้อ
นอกจากนั้นยังสามารถรักษาโรคติดเชื้อโปรโตซัวบางชนิดได้ เช่น Toxoplasmosis, Malaria แต่ไม่ได้ใช้เป็นยาตัวแรก | ผลข้างเคียง: ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีรสขมในปาก ผื่นคัน ลมพิษ ข้ออักเสบหลายข้อ ตับอักเสบ ดีซ่าน เม็ดเลือดขาวต่ำ การทำงานของไตเสียไป พิษ: การใช้ในขนาดสูงหรือใช้นานเกิน 1 สัปดาห์ อาจเกิดทำให้ Clostridium difficile ซึ่งเป็นแบคทีเรียตัวหนึ่งในลำไส้ใหญ่เพิ่มจำนวนขึ้นจนทำให้เกิดภาวะ Pseudomembranous colitis จะมีอาการท้องเสียเรื้อรัง ท้องอืด ปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด หรือถึงขั้นลำไส้ทะลุ ข้อควรระวัง: - ให้ระวังการใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็ก ผู้ป่วยโรคตับ และโรคไต โดยแพทย์เท่านั้นที่จะเป็นผู้พิจารณา - ควรเฝ้าระวังอาการท้องเสียในระหว่างการใช้ยานี้ เพราะอาจเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อ Clostridium difficile - ควรตรวจการทำงานของไตและตับเป็นระยะ หากจำเป็นต้องใช้ยานี้ติดต่อกันนาน ๆ |
S U L F O N A M I D E S | ยากลุ่มนี้เป็น Bacteriostatic ได้แก่- Sulfadiazine
- Sulfisoxazole
- Cotrimoxazole (Trimethoprim + Sulfamethoxazole)
| ยากลุ่มซัลฟาเป็นยาที่ออกฤทธิ์นาน ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไทฟอยด์ บิดชิเกลลา อหิวาต์ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ ต่อมลูกหมากอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ แผลริมอ่อน เป็นต้น
นอกจากนั้นยังใช้รักษาโรคปอดอักเสบจากโปรโตซัว Pneumocystis carinii ในผู้ป่วยโรคเอดส์ | ผลข้างเคียง: คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน - อาจเกิดอาการแพ้ยา โดยจะขึ้นผื่นคัน ปากบวม ตาบวม หรือมีเม็ดใส ๆ ขึ้นตามปาก ตา ทวารหนัก ช่องคลอด ลำตัวหรือแขนขา บางคนอาจแพ้รุนแรงจนหนังลอก ตาเปื่อย ปากเปื่อย ซึ่งเรียกว่า กลุ่มอาการสตีเวนส์-จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome) - อาจทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาวหรือเกร็ดเลือดน้อยลง หรือเกิดโรคโลหิตจางชนิดอะพลาสติกได้ - อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกในผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-P-D ได้
ข้อควรระวัง: - ผู้ที่มีเคยแพ้ยาซัลฟาหรือมีภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-P-D ห้ามใช้ยาซัลฟาตัวใดตัวหนึ่งอีกต่อไป - ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้าย |
ยาที่ไม่อยู่ในตารางข้างต้นนี้มิได้หมายความว่าจะไม่มีคมดาบอีกด้านหนึ่ง ความจริงยาทุกชนิดควรอ่านฉลากกำกับการใช้ยาโดยละเอียดก่อนใช้ทุกครั้ง (ฉลากกำกับการใช้ยาอยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะบอกชื่อทางเคมีของยา คุณสมบัติ การออกฤทธิ์ ข้องบ่งชี้ ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น ข้อควรระวัง และข้อห้ามใช้สำหรับยาตัวนั้น ๆ)