การตรวจสุขภาพเด็กวัยประถม (Childhood Checkup)

เด็กวัยประถมได้แก่วัย 6-11 ปี เด็กที่เข้าโรงเรียนจะเริ่มมีวินัย มีมารยาท มีเพื่อนต่างฐานะ ต่างอุปนิสัย มีสังคมที่กว้างขึ้น ต้องปรับตัวและรับผิดชอบมากขึ้น ในช่วงวัยนี้เด็กหญิงจะสูงเร็วกว่าเด็กชาย โดยเด็กหญิงจะเริ่มสูงเท่าเด็กชายในวัยเดียวกันตั้งแต่อายุ 8-9 ปี แล้วจะทะยานความสูงหรือโตเร็วเมื่ออายุ 10-11 ปี จากนั้นจะช้าลงหลังเริ่มมีรอบเดือน จนหยุดสูงที่อายุประมาณ 16 ปี ส่วนอัตราสูงของเด็กชายจะยังขึ้นช้า ๆ ในวัยนี้ การนัดตรวจสุขภาพจะแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 6-7 ปี, 8-9 ปี, และ 10-11 ปี โดยจะเริ่มมีการวัดความดันโลหิต คัดกรองความสามารถทางเชาวน์ปัญญา ทักษะการอ่านเขียน คัดกรองปัญหาซน สมาธิสั้น คัดกรองปัญหาสุขภาพจิตและพฤติกรรมเด็ก

อายุ 6-7 ปี

  1. ประเมินการเจริญเติบโต โดยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง แล้วบันทึกลงในกราฟ ประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ และน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง
  2. ตรวจร่างกายตามระบบ โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง ร่องรอยของการถูกทำร้าย/ทำร้ายตัวเอง วัดความดันโลหิต ชีพจร ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน การสบกันของฟัน ตรวจสายตาโดย Snellen chart ถ้าการมองเห็นที่อยู่ตั้งแต่ 20/50 หรือ 6/15 ขึ้นไปอย่างน้อยหนึ่งข้าง จะส่งต่อจักษุแพทย์ ตรวจการได้ยินด้วยเครื่องมือพิเศษ (ในเด็กที่มีความเสี่ยงหรือการได้ยินบกพร่อง)
  3. ตรวจเลือด เพื่อคัดกรองภาวะโลหิตจาง เบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ ตรวจภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH, Free T4) ตรวจการทำงานของไต (Cr) และตับ (ALT)
  4. หากมีประวัติเสี่ยง ให้ตรวจระดับสารตะกั่ว เอกซเรย์ดูวัณโรค และตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  5. ประเมินปัญหาด้านการเรียน เรียนทันเพื่อนไหม อ่านเขียนช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกันหรือไม่ มีสมาธิในการเรียนดีไหม มีปัญหาพฤติกรรมและการปรับตัวที่โรงเรียนหรือไม่ (ครูเคยแจ้งว่ามีอะไรน่าเป็นห่วงที่โรงเรียนหรือไม่)
  6. ในกรณีที่มีปัญหาการเรียน จะคัดกรองความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเบื้องต้นด้วยการให้วาดรูปทรงเรขาคณิตตามแบบ (Gesell Draw-a-Person test) และประเมินทักษะการอ่านเขียนเบื้องต้น ในกรณีที่มีปัญหาซน สมาธิสั้น จะให้ผู้ปกครองทำแบบประเมิน Vanderbilt Assessment Scale หรือ SNAP-IV short form

  7. ประเมินปัญหาทางจิตใจและสังคม การให้ความร่วมมือ ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และที่โรงเรียน ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ ครู และเพื่อน (ถามเรื่องเพื่อนสนิท การถูกเพื่อนรังแก) ประเมินความเครียด การเปลี่ยนแปลงภายในครอบครัว ใครเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นหลัก พ่อแม่มีความเครียดเรื่องอะไรไหม มีปัญหาสุขภาพจิต/ดื่มสุราหรือใช้สารเสพติดหรือไม่ มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัวหรือไม่ กรณีที่มีปัญหาจะส่งทั้งเด็กและผู้ปกครองไปพบจิตแพทย์
  8. ประเมินการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์เทคโนโลยี ระยะเวลาในการเล่นเกม หรือใช้สื่อสังคมออนไลน์ในแต่ละวัน

  9. รับวัคซีนป้องกัน คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ และโปลิโอชนิดกิน กระตุ้นครั้งที่ 2 (กรณีที่ยัง ไม่ได้รับตอนอายุ 4 ปี)

อายุ 8-9 ปี

  1. ประเมินการเจริญเติบโต โดยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง แล้วบันทึกลงในกราฟ ประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ และน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง
  2. ตรวจร่างกายตามระบบ โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง ร่องรอยของการถูกทำร้าย/ทำร้ายตัวเอง วัดความดันโลหิต ชีพจร ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน การสบกันของฟัน ตรวจสายตาโดย Snellen chart ถ้าการมองเห็นที่อยู่ตั้งแต่ 20/50 หรือ 6/15 ขึ้นไปอย่างน้อยหนึ่งข้าง จะส่งต่อจักษุแพทย์ ตรวจการได้ยินด้วยเครื่องมือพิเศษ (ในเด็กที่มีความเสี่ยงหรือการได้ยินบกพร่อง)
  3. ตรวจเลือด เพื่อคัดกรองภาวะโลหิตจาง เบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ ตรวจภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH, Free T4) ตรวจการทำงานของไต (Cr) และตับ (ALT) ในกรณีที่มีการเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์, อ้วน, ติดตามความผิดปกติที่พบครั้งก่อน, หรือยังไม่ได้เคยตรวจเลยเมื่ออายุ 6 ปี (หากเคยตรวจตอนอายุ 6 ปีแล้วปกติ ไม่จำเป็นต้องตรวจ)
  4. หากมีประวัติเสี่ยง ให้ตรวจระดับสารตะกั่ว เอกซเรย์ดูวัณโรค และตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  5. ประเมินปัญหาด้านการเรียน เรียนทันเพื่อนไหม อ่านเขียนช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกันหรือไม่ มีสมาธิในการเรียนดีไหม มีปัญหาพฤติกรรมและการปรับตัวที่โรงเรียนหรือไม่ (ครูเคยแจ้งว่ามีอะไรน่าเป็นห่วงที่โรงเรียนหรือไม่)
  6. ในกรณีที่มีปัญหาการเรียน จะคัดกรองความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเบื้องต้นด้วยการให้วาดรูปทรงเรขาคณิตตามแบบ (Gesell Draw-a-Person test) และประเมินทักษะการอ่านเขียนเบื้องต้น ในกรณีที่มีปัญหาซน สมาธิสั้น จะให้ผู้ปกครองทำแบบประเมิน Vanderbilt Assessment Scale หรือ SNAP-IV short form

  7. ประเมินปัญหาทางจิตใจและสังคม การให้ความร่วมมือ ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และที่โรงเรียน ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ ครู และเพื่อน (ถามเรื่องเพื่อนสนิท การถูกเพื่อนรังแก) ประเมินความเครียด การเปลี่ยนแปลงภายในครอบครัว ใครเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นหลัก พ่อแม่มีความเครียดเรื่องอะไรไหม มีปัญหาสุขภาพจิต/ดื่มสุราหรือใช้สารเสพติดหรือไม่ มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัวหรือไม่ กรณีที่มีปัญหาจะส่งทั้งเด็กและผู้ปกครองไปพบจิตแพทย์
  8. ประเมินการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์เทคโนโลยี ระยะเวลาในการเล่นเกม หรือใช้สื่อสังคมออนไลน์ในแต่ละวัน

  9. รับวัคซีนทางเลือก ไข้เลือดออก 2-3 เข็ม แล้วแต่ชนิดวัคซีน

อายุ 10-11 ปี

  1. ประเมินการเจริญเติบโต โดยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง แล้วบันทึกลงในกราฟ ประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ และน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง
  2. ตรวจร่างกายตามระบบ โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง ร่องรอยของการถูกทำร้าย/ทำร้ายตัวเอง วัดความดันโลหิต ชีพจร ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน การสบกันของฟัน ตรวจสายตาโดย Snellen chart ถ้าการมองเห็นที่อยู่ตั้งแต่ 20/50 หรือ 6/15 ขึ้นไปอย่างน้อยหนึ่งข้าง จะส่งต่อจักษุแพทย์ ตรวจการได้ยินด้วยเครื่องมือพิเศษ (ในเด็กที่มีความเสี่ยงหรือการได้ยินบกพร่อง)
  3. ตรวจเลือด เพื่อคัดกรองภาวะโลหิตจาง เบาหวาน ไขมันในเลือดผิดปกติ ตรวจภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH, Free T4) ตรวจการทำงานของไต (Cr) และตับ (ALT) ในกรณีที่มีการเจริญเติบโตต่ำกว่าเกณฑ์, อ้วน, ติดตามความผิดปกติที่พบครั้งก่อน, หรือยังไม่ได้เคยตรวจเลยตั้งแต่ 6 ปี (หากเคยแล้วปกติ ไม่จำเป็นต้องตรวจ)
  4. หากมีประวัติเสี่ยง ให้ตรวจระดับสารตะกั่ว เอกซเรย์ดูวัณโรค และตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  5. ประเมินปัญหาด้านการเรียน เรียนทันเพื่อนไหม อ่านเขียนช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกันหรือไม่ มีสมาธิในการเรียนดีไหม มีปัญหาพฤติกรรมและการปรับตัวที่โรงเรียนหรือไม่ (ครูเคยแจ้งว่ามีอะไรน่าเป็นห่วงที่โรงเรียนหรือไม่)
  6. ในกรณีที่มีปัญหาการเรียน จะคัดกรองความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเบื้องต้นด้วยการให้วาดรูปทรงเรขาคณิตตามแบบ (Gesell Draw-a-Person test) และประเมินทักษะการอ่านเขียนเบื้องต้น ในกรณีที่มีปัญหาซน สมาธิสั้น จะให้ผู้ปกครองทำแบบประเมิน Vanderbilt Assessment Scale หรือ SNAP-IV short form

  7. ประเมินปัญหาทางจิตใจและสังคม การให้ความร่วมมือ ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และที่โรงเรียน ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ ครู และเพื่อน (ถามเรื่องเพื่อนสนิท การถูกเพื่อนรังแก) ประเมินความเครียด การเปลี่ยนแปลงภายในครอบครัว ใครเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นหลัก พ่อแม่มีความเครียดเรื่องอะไรไหม มีปัญหาสุขภาพจิต/ดื่มสุราหรือใช้สารเสพติดหรือไม่ มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัวหรือไม่ กรณีที่มีปัญหาจะส่งทั้งเด็กและผู้ปกครองไปพบจิตแพทย์
  8. ประเมินการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์เทคโนโลยี ระยะเวลาในการเล่นเกม หรือใช้สื่อสังคมออนไลน์ในแต่ละวัน

  9. รับวัคซีนป้องกัน

การเลี้ยงดูที่เหมาะสมและการสร้างวินัยที่ดี

ผู้ปกครองควรให้ความรัก ให้เวลาที่มีคุณภาพ เอาใจใส่ต่อตัวเด็ก รับฟังความคิดเห็น ตอบสนองอย่างพอเหมาะ มีกฎกติกาในบ้าน โดยให้เด็กมีส่วนร่วมคิดกฎเกณฑ์ แล้วปรับให้เหมาะสมตามวัยและสถานการณ์

ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตัวตนเองในกิจวัตรประจำวัน ช่วยงานบ้าน มีวินัย รู้จักแบ่งเวลา มีความอดทน อดกลั้น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มีจิตอาสา ช่วยเหลือผู้อื่น ส่งเสริมให้เด็กกล้าคิดกล้าทำ โดยให้เผชิญสภาพแวดล้อมหลายแบบ เปิดโอกาสให้ตัดสินใจและลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง ส่งเสริมให้เป็นคนคิดบวกและไม่ย่อท้อ โดยพ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ใช้คำพูดด้านบวก ชื่นชมในความพยายามของเด็ก หลีกเลี่ยงการแสดงพฤติกรรมความรุนแรงในครอบครัว ทั้งทางร่างกายและการใช้ภาษา

ฝึกเด็กให้มีทักษะในการสื่อสาร ทักษะการปฏิเสธที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเสียใจ ทักษะในการคิดสร้างสรรค์ วางแผน แก้ปัญหาด้วยตนเอง และทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะในการใช้สื่ออย่างเหมาะสม และการรู้เท่าทันสื่อ ส่งเสริมให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง

จัดอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารหวาน เค็มและไขมันสูง ไม่ควรกินอาหารว่างระหว่างมื้อเกินวันละ 2 ครั้ง หลีกเลี่ยงอาหารหวานเหนียวติดฟันและเครื่องดื่มรสหวาน ควรแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง (เช้าและก่อนนอน) ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ นานครั้งละ 2 นาที และใช้ไหมขัดฟัน ควรพบทันตบุคลากร ปีละ 1-2 ครั้ง

ให้เด็กนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน กำหนดเวลาดูโทรทัศน์ ใช้คอมพิวเตอร์ และจออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงต่อวัน โดยเลือกรายการให้เหมาะสมกับวัย พ่อแม่ควรนั่งดูร่วมกับเด็ก และมีการพูดคุยชี้แนะ

ออกกำลังกายกลางแจ้งสม่ำเสมอทุกวันหรือมีกิจกรรมที่ออกแรงอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ฝึกให้เล่นหลายประเภท เช่น กีฬา ดนตรี ฯ เปิดโอกาสให้ได้เล่นกีฬากับเพื่อน ๆ ฝึกให้ขี่จักรยานเมื่ออายุมากกว่า 6 ปี อย่างถูกวิธีและปลอดภัย (ขี่ริมทาง ไม่ขี่สวนทางรถ ทำตามกฎจราจร) แนะนำใช้หมวกนิรภัยเมื่อขึ้นรถจักรยานยนต์หรือจักรยาน ไม่ให้เด็กนั่งหรือยืนด้านหลังรถกระบะ เมื่อโดยสารรถยนต์แนะนำให้นั่งเบาะหลัง เด็กที่อายุน้อยกว่า 9 ปี ต้องใช้ที่นั่งเสริมให้สูงพอที่ จะใช้เข็มขัดนิรภัยอย่างปลอดภัย และคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง สอนให้เด็กรู้จักไฟจราจรและกฎจราจร รวมทั้งสอนทักษะการเดินข้ามถนนตั้งแต่ในวัยเด็ก และจะอนุญาตให้เด็กเดินข้ามถนนด้วยตนเองเมื่ออายุมากกว่า 10 ปี

สอนทักษะความปลอดภัยทางน้ำ โดยให้รู้จักหลีกเลี่ยงแหล่งน้ำที่มีความเสี่ยง เมื่อถึงวัยที่เหมาะสมควรฝึกการลอยตัวและว่ายน้ำ ใส่เสื้อชูชีพเมื่อต้องเดินทางทางน้ำ และแนะนำให้ช่วยเหลือผู้จมน้ำโดยการตะโกน

ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับสัตว์เลี้ยงตามลำพัง โดยเฉพาะสัตว์ที่กำลังมีลูกอ่อน สอนเด็กไม่ให้แกล้งสัตว์เลี้ยง และควรฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้แก่สัตว์เลี้ยงที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างสม่ำเสมอ

ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับคนแปลกหน้าตามลำพัง และสอนเด็กให้ไม่รับของหรือไปกับคนแปลกหน้า ให้อยู่ในบริเวณที่ปลอดภัยที่กำหนดไว้ สอนให้เด็กป้องกันตัวเองและบอกผู้ปกครองเมื่อมีผู้อื่นมากระทำหรือปฏิบัติโดยมิชอบต่อร่างกายและจิตใจ แนะนำเกี่ยวกับโทษและอันตรายของ เหล้า บุหรี่ และสารเสพติด ที่อาจเกิดขึ้นต่อทั้งร่างกายและจิตใจ

สอนเด็กที่เริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มสาวให้เลี่ยงการอยู่ในสถานที่ส่วนตัวกับเพื่อนต่างเพศ หลีกเลี่ยงการคบหากับผู้ใหญ่หรือเพื่อนต่างเพศที่บอกให้เด็กพูดโกหกเรื่องความสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย แนะนำวิธีการคุมกำเนิดอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันสมควร และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

บรรณานุกรม

  1. กรมการแพทย์. 2565. "แนวทางการตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสมสำหรับประชาชน ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๕." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ (28 กรกฎาคม 2566).