ปวดท้องในเด็ก (Abdominal pain in children)

เด็ก ๆ ก็ปวดท้องได้บ่อยพอ ๆ กับผู้ใหญ่ แต่หนู ๆ เหล่านั้นอาจไม่สามารถเล่าลักษณะอาการได้ละเอียดเหมือนอย่างผู้ใหญ่ ผู้ปกครองจึงต้องเป็นผู้สังเกตอาการและปัจจัยแวดล้อมแทนเด็ก

ส่วนใหญ่อาการปวดท้องที่ไม่มีอะไรผิดปกติเด็กจะแสดงอาการปวดอยู่ไม่นาน เมื่อมีสิ่งอื่นที่น่าสนใจกว่าเด็กก็อาจลืมเรื่องที่ปวดท้องไป แต่ถ้าไม่มีอะไรเบี่ยงเบนอาการปวดของเจ้าตัวน้อยนี้ไปได้ ไม่ว่าจะเป็นขนม ไอศกรีม หรือของเล่น ก็ถึงคราวที่คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันประเมินแล้ว

สิ่งแรกคือถ้ามีอาการแสดงข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ควรพาเด็กไปพบกุมารแพทย์ทันที

ถัดมาคืออาการที่แสดงถึงความรุนแรงของอาการปวดที่ค่อนข้างมาก ซึ่งได้แก่

แม้จะมีความรุนแรงดังกล่าว แต่ถ้าไม่มีอาการแสดง 6 ข้อข้างต้น ผู้ปกครองก็ยังไม่ต้องตกใจไปกับเด็ก เพราะสาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดท้องในเด็กมาจากอาหาร ความเครียด และจากการที่ร่างกายเติบโต ท่านอาจให้เด็กจิบน้ำเก๊กฮวยอุ่น ๆ ซึ่งช่วยระบายท้องและแก้ร้อนใน หรือให้เด็กจิบน้ำขิง ซึ่งจะช่วยลดกรดในกระเพาะและลดอาการอักเสบในทางเดินอาหาร ถ้าเด็กปวดบิด (คือปวดเป็นพัก ๆ) การใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบท้องจะช่วยทุเลาอาการปวด เมื่อถึงเวลาอาหารก็ควรให้เด็กทานอาหารอ่อนสัก 1-2 มื้อ หรือถ้าเด็กอาเจียนและท้องเสียมากก็อาจงดอาหารมื้อนั้นไปก่อน ให้ดื่มแต่น้ำผสมผงเกลือแร่ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการแสดงความรักความห่วงใยต่อเขาเมื่อเขาเจ็บป่วย เหล่านี้เป็นการดูแลเบื้องต้นที่ผู้ปกครองควรทำเมื่อเด็กปวดท้อง

ปกติเด็กเวลาหายป่วยจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าอาการปวดท้องยังคงอยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง หรือสามวันแล้วยังไม่หายท้องเสีย ผู้ปกครองควรพาเด็กไปให้แพทย์ตรวจ

สาเหตุของอาการปวดท้องในเด็กวัยต่าง ๆ

แรกเกิด - 1 เดือน

  • ลำไส้อุดตัน เช่น Volvulus, Hirshsprung, Pyloric stenosis
  • ไส้เลื่อน
  • การบาดเจ็บ เช่น จากการคลอด
  • เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เช่น Necrotizing enterocolitis, GI perforation
  • Gastroesophageal reflux

ต่ำกว่า 2 ปี

  • ท้องผูก
  • ไวรัสลงกระเพาะ
  • อาหารเป็นพิษ
  • ไส้เลื่อน, ลำไส้บิดเกลียว (Volvulus), ลำไส้กลืนกัน (Intussusception)
  • ปวดบิดไม่ทราบสาเหตุ (Colic)
  • อุบัติเหตุ เช่น กินสารพิษ บาดเจ็บ ถูกทำร้าย
  • Infantile dyschezia (ภาวะที่เด็กกรีดร้องก่อนจะถ่ายอุจจาระออกมา)

อายุ 2-12 ปี

  • ไวรัสลงกระเพาะ
  • อาหารเป็นพิษ
  • ท้องผูก
  • ลำไส้อุดตัน
  • ลูกอัณฑะบิดเกลียว
  • ปอดบวม
  • ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องอักเสบ
  • กรวยไตอักเสบ, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • การบาดเจ็บ
  • Henoch-Schnolein Purpura
  • ไส้ติ่งอักเสบ
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • ถุงน้ำดีอักเสบ

อายุ 12-18 ปี

  • การบาดเจ็บ
  • ปวดประจำเดือน
  • อุ้งเชิงกรานอักเสบ
  • ถุงน้ำรังไข่/รังไข่บิดเกลียว
  • ท้องผูก
  • ลูกอัณฑะบิดเกลียว
  • อาหารเป็นพิษ
  • ตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • ลูกอัณฑะบิดเกลียว
  • ไวรัสลงกระเพาะ
  • ไส้ติ่งอักเสบ
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • ถุงน้ำดีอักเสบ

จะเห็นว่าสาเหตุของอาการปวดท้องในทารกรุนแรงกว่าในวัยที่สูงขึ้น เนื่องจากความผิดปกติโดยกำเนิดจะแสดงอาการในช่วงนี้ ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ อาการปวดท้องมักเกิดจากท้องผูก ดังนั้นจึงควรฝึกให้เด็กทานผัก ผลไม้ และมีเวลาให้นั่งขับถ่ายทุกวัน เด็กวัยนี้ยังมีโอกาสเกิดไส้เลื่อน, ลำไส้บิดเกลียว, และลำไส้กลืนกัน ซึ่งทั้งสามภาวะนี้จะทำให้ปวดท้องมาก ท้องจะโต แข็ง เหมือนมีก้อนอยู่ภายใน

ในเด็กที่โตขึ้น สาเหตุของอาการปวดท้องส่วนใหญ่จะเป็นจากการติดเชื้อไวรัสและอาหารเป็นพิษ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้จะมีอาการท้องเสียตามมา เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ อาการปวดท้องในเด็กที่ตามมาด้วยอาการท้องเสียมักไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง (เว้นแต่อุจจาระที่ออกมาเป็นเลือดหรือมีเลือดปน) โรค Henoch-Schnolein Purpura จะมีผื่นแดงคล้ายจ้ำเลือดร่วมกับอาการปวดท้อง ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์

ในเด็กวัยรุ่น อาการปวดท้องอาจมีสาเหตุมาจากระบบสืบพันธุ์ โดยเฉพาะในเด็กผู้หญิง ซึ่งจะแสดงอาการปวดท้องส่วนล่าง ในเด็กผู้ชายก็อาจเกิดภาวะลูกอัณฑะบิดเกลียว ซึ่งต้องรีบผ่าตัดโดยด่วน

เด็กทุกวัยมีโอกาสเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบได้พอ ๆ กับผู้ใหญ่ ลักษณะสำคัญคือปวดท้องน้อยด้านขวาล่าง กดเจ็บ เด็กมักไม่ยอมให้จับบริเวณนี้ อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าวันที่ 3-5 ไส้ติ่งจะแตก แล้วกลายเป็นปวดทั่วท้อง ในเด็กหญิงที่เข้าสู่วัยรุ่นต้องให้แพทย์ตรวจแยกโรคของรังไข่และมดลูกด้วย