แอนติบอดีต่อเม็ดเลือดแดง
(Coombs test, Antiglobulin test)

ชื่อสารที่ใช้ทดสอบนี้ (Coombs reagent) ตั้งตามชื่อนักภูมิคุ้มกันวิทยาชาวอังกฤษ คือ โรบิน คุ้ม (Robin Coombs) หนึ่งในทีมผู้คิดค้นการทดสอบนี้ตั้งแต่ปีค.ศ. 1945 เพื่อให้เกียรติท่าน โดยเรียกชื่อการทดสอบว่า Antiglobulin test แต่แพทย์นิยมเรียกชื่อการทดสอบนี้ว่า Coombs test เหมือนชื่อสารเพราะจำง่ายกว่า (สังเกตว่า Coombs ขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่ และไม่มีอะโพสโทรฟี ['] ต่อท้ายแสดงความเป็นเจ้าของ)

Coombs reagent คือ antihuman globulin ที่ได้จากการฉีด human globulin เข้าไปในตัวสัตว์ทดลอง ซึ่งสัตว์จะสร้าง polyclonal antibodies ที่จำเพาะต่อ human immunoglobulins และ human complement system ออกมาในซีรั่ม เมื่อดูดเลือดจากตัวสัตว์ออกมาปั่นจะได้ซีรั่มที่มี antihuman globulin และ complements โดยเฉพาะ C3 อยู่

การตรวจ Coombs test มี 2 วิธี คือ

  1. Direct Coombs test หรือ Direct antiglobulin test (DAT) เป็นการตรวจหา IgG แอนติบอดีที่ผู้ป่วยสร้างบนผิวเม็ดเลือดแดงของตนเอง IgG เหล่านี้ไม่เกาะกันเองแม้จะเอาเลือดไปปั่น ผู้ป่วยจึงไม่มีอาการอะไร แต่วันดีคืนดีอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกจนเกิดอาการซีด เหลือง อ่อนเพลีย ปัสสาวะเป็นสีน้ำโคล่า ต้องตรวจโดยนำเลือดผู้ป่วยมาผสมกับแอนติบอดีต่อ human IgG เหล่านี้ (Coombs reagent) มันถึงจะเกาะกัน
  2. ข้อบ่งชี้ในการตรวจ DAT

    การรายงานผลจะเป็น Negative (ผลลบ) และ Positive (ผลบวก) แล็บบางแห่งจะบอกความรุนแรงของผลบวกเป็น +1, +2, +3, +4 ด้วย

    ผลบวกลวงของ DAT

    • ภาวะที่มีโปรตีนหรือ immunoglobulin ในเลือดสูง ทำให้เม็ดเลือดเกาะกันเป็นสายอยู่แล้ว (rouleaux formation)
    • เพิ่งได้ immunoglobulin เข้าทางหลอดเลือดดำ
    • กลุ่มอาการ Antiphospholipid syndrome (เลือดจับกันเป็นลิ่มง่าย)
    • โรคติดเชื้อพวก HIV, มาลาเรีย

    ผลลบลวงของ DAT

    • เม็ดเลือดแดงแตกมากจนไม่เหลือผิวให้เกาะ
    • แอนติบอดีที่ผิวเป็นชนิด IgA หรือ IgM (เพราะ Coombs reagent จำเพาะต่อ IgG เท่านั้น)
    • แอนติบอดีที่ผิวเม็ดเลือดแดงเกาะแบบหลวม ๆ (low-affinity antibodies)
    • แอนติบอดีที่ผิวเม็ดเลือดแดงมีปริมาณน้อยเกินกว่าที่จะตรวจได้

  3. Indirect Coombs test หรือ Indirect antiglobulin test (IAT) เป็นการตรวจหา IgG หรือ IgM แอนติบอดีที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดของผู้ป่วย แอนติบอดีเหล่านี้จะต่อต้านเม็ดเลือดแดงของคนอื่น ทำให้มีผิดปกติระหว่างเติมเลือด เช่น ไข้ หนาวสั่น
  4. ข้อบ่งชี้ในการตรวจ IAT

    การรายงานผลจะเป็น Negative (ผลลบ) และ Positive (ผลบวก)

    ถ้า IAT positive ในหญิงมีครรภ์ แพทย์จะให้ฉีด Rh immunoglobulin ป้องกันไว้สำหรับครรภ์ต่อไป

บรรณานุกรม

  1. Sagar Aryal. 2018. "Coombs Test- Principle, Types, Procedure and Result Interpretation." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา MicrobiologyInfo.com. (17 ตุลาคม 2563).
  2. "Coombs test." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา Wikipedia. (17 ตุลาคม 2563).
  3. Samuel R. Theis and Muhammad F. Hashimi. 2020. "Coombs test." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา StatPearls Publishing. (17 ตุลาคม 2563).
  4. Bishnu Prasad Devkota. 2020. "Direct Antiglobulin Test." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา Medscape. (17 ตุลาคม 2563).
  5. Victoria Parker and Christopher A. Tormey. 2017. "The Direct Antiglobulin Test: Indications, Interpretation, and Pitfalls." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา Arch Pathol Lab Med. 2017;141(2):305–310. (17 ตุลาคม 2563).