เลือดในปัสสาวะ (Urine blood)

เลือดในปัสสาวะมีการตรวจ 2 วิธี คือ แบบดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ (microscopic RBC) สามารถเห็นเม็ดเลือดได้ถ้ายังไม่แตก เม็ดเลือดแดงตั้งแต่ 3 ตัว/high power field ขึ้นไป ถือว่าผิดปกติหมด

อีกวิธีหนึ่งคือใช้ dipstick (urine occult blood) ตรวจหา hemoglobin จากเม็ดเลือดแดงที่แตกแล้ว แต่ข้อเสียคืออาจให้ผลบวกลวงกรณีที่มี myoglobin จากการสลายของกล้ามเนื้อมาปน หรือมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในกระแสโลหิต (ไม่เกี่ยวกับไต) แต่ถูกขับออกมาในปัสสาวะ ดังนั้น หากวิธีนี้ให้ผลบวกจะต้องยืนยันด้วยการดูเม็ดเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์ทุกครั้ง

ผลลบลวงของ urine occult blood อาจพบได้ในกรณี..

  • กินยาบางชนิด เช่น Captopril, วิตามินซี
  • ปัสสาวะมีความถ่วงจำเพาะสูง
  • ปัสสาวะที่เป็นกรดมาก pH < 5.0
  • มีโปรตีนออกมาในปัสสาวะมาก
  • มีไนไตรท์ในปัสสาวะมาก (ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ)

ผลบวกลวงของ urine occult blood อาจพบได้ในกรณี..

  • ขาดน้ำ
  • ภาวะที่มี myoglobinuria เช่น ออกกำลังกายหนัก, ได้รับบาดเจ็บ, heatstroke, burn, vasculitis, ยาหรือสารพิษที่ทำให้เกิด rhabdomyolysis
  • มี intravascular hemolysis (hemoglobinuria)
  • ปัสสาวะที่เป็นด่างมาก pH > 9.0

** หญิงที่กำลังมีรอบเดือนยังไม่ควรตรวจปัสสาวะ เพราะจะทำให้ค่าต่าง ๆ เป็นบวกลวง

สาเหตุของเลือดในทางเดินปัสสาวะ (Hematuria)

  1. ออกกำลังกายหนัก
  2. ใช้ยาบางชนิด เช่น แอสไพริน, กลุ่มยาละลายลิ่มเลือด, Cyclophosphamide, Penicillin
  3. มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  4. มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  5. ได้รับบาดเจ็บที่ไต
  6. โรคของหน่วยไต (Glomerulonephritis)
  7. ต่อมลูกหมากโต, มะเร็งต่อมลูกหมาก
  8. มะเร็งทางเดินปัสสาวะ
  9. โรคทางพันธุกรรม เช่น Alport syndrome

บรรณานุกรม

  1. "Urine Occult Blood." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา familypractice NOTEBOOK (6 กันยายน 2563).
  2. "Blood in urine (hematuria)." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา Mayo Clinic. (6 กันยายน 2563).
  3. Tsuneharu Miki, et al. 2004. "Occult Hematuria Detected on Health Screening." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา JMAJ 47(5): 240–246, 2004. (6 กันยายน 2563).
  4. Jeff A. Simerville, et al. 2005. "Urinalysis: A Comprehensive Review." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา Am Fam Physician. 2005 Mar 15;71(6):1153-1162. (26 สิงหาคม 2563).
  5. "Urinalysis." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา AACC (26 สิงหาคม 2563).