จำนวนเรติคูโลไซต์ (Reticulocyte count)

เรติคูโลไซต์ คือ เม็ดเลือดแดงที่ยังไม่โตเต็มที่ (ประมาณระยะวัยรุ่น ไม่ใช่เม็ดเลือดแดงตัวอ่อนในไขกระดูก) มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงเต็มวัย ถ้าย้อม Methylene blue จะเห็นร่างแหของ RNA อยู่ภายใน ปกติเรติคูโลไซต์จะออกมาในกระแสเลือดไม่มาก ยกเว้นกรณีโลหิตจางที่ไขกระดูกยังปกติ จำนวนเรติคูโลไซต์ที่เพิ่มขึ้นแสดงว่าไขกระดูกยังมีความสามารถสร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมาทดแทนที่สูญหายไป

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ

  1. หาสาเหตุของภาวะโลหิตจาง
  2. ยืนยันประวัติเสียเลือดแต่ตรวจไม่พบโลหิตจาง
  3. ดูผลการตอบสนองต่อการรักษาภาวะโลหิตจาง
  4. ดูผลการตอบสนองต่อการให้ recombinant erythropoietin ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
  5. ติดตามการฟื้นตัวของไขกระดูกหลังสิ้นสุดการรักษาด้วยเคมีบำบัด
  6. ติดตามการฟื้นตัวของไขกระดูกหลังทำการปลูกถ่ายไขกระดูก
  7. ประเมินการทำงานของไขกระดูก
  8. หาสาเหตุของภาวะเลือดข้นว่าเป็นจากไขกระดูกทำงานมากเกินไปหรือไม่
%
%

บรรณานุกรม

  1. Reka G Szigeti. 2014. "Reticulocyte Count and Reticulocyte Hemoglobin Content." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา Medscape. (5 ตุลาคม 2563).
  2. "Reticulocyte production index." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา Wikipedia. (5 ตุลาคม 2563).
  3. กิตติ ต่อจรัส และรัชฏะ ลํากูล. "แนวทางการวินิจฉัยและรักษาภาวะโลหิตจาง." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา ThaiPediatrics.Org. (5 ตุลาคม 2563).
  4. "การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (5 ตุลาคม 2563).
  5. "Reticulocyte Count." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา ClinLab Navigator (5 ตุลาคม 2563).
  6. "Reticulocytes." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา labtestsonline.org. (5 ตุลาคม 2563).

คำชี้แจงที่สำคัญ (Disclaimer): ผลการแปลต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้องจากแพทย์ก่อนนำไปใช้วินิจฉัยหรือรักษา ผู้จัดทำมิได้ยืนยันในความถูกต้องของสูตรที่ได้เลือกมาหรือที่ได้ปรับให้เหมาะสม และผลการแปลก็ไม่สามารถทดแทนดุลยพินิจทางคลินิกของแพทย์ได้ ผู้จัดทำจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายอันเกิดจากการที่ผู้ใช้พึ่งพาผลการแปลหรือคำแนะนำในเอกสารนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน