อัตราการตกของเม็ดเลือดแดง
(Erythrocyte sedimentation rate, ESR)

เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นในร่างกาย ตับจะสร้างโปรตีนหลายชนิดมาตอบสนองต่อการอักเสบ เช่น C-Reactive Protein (CRP), Fibrinogen, Immunoglobulin โปรตีนเหล่านี้จะทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะติดกันและตกตะกอนได้ง่าย ค่า ESR คือ ระยะห่างของตะกอนเม็ดเลือดแดงที่ตกลงมาจากระดับพลาสมาบนสุด เมื่อตั้งเลือดที่ผสมสารป้องกันการแข็งตัวในหลอดแก้วมาตรฐานนาน 1 ชั่วโมง มีหน่วยเป็น มิลลิเมตร/ชั่วโมง (mm/hr) ค่า ESR ยิ่งสูงก็ยิ่งมีการอักเสบมาก ESR จึงเป็นดัชนีชี้วัดการอักเสบตัวหนึ่ง แต่ไม่ได้บอกถึงสาเหตุของการอักเสบ จึงใช้วินิจฉัยโรคใดโรคหนึ่งไม่ได้ อีกทั้งยังมีค่าแปรผันตามอายุ เพศ การตั้งครรภ์ ยาที่ใช้ โรคประจำตัวที่เป็นอยู่ ฯลฯ

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ ESR

  1. เพื่อช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยโรคทางโลหิตวิทยา
  2. ติดตามผลการรักษาโรคที่เป็นอยู่ปัจจุบัน
  3. ดูแนวโน้มการดำเนินของโรคที่อาจมีแต่ยังวินิจฉัยไม่ได้จากอาการที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
  4. เป็นหนึ่งในเกณฑ์วินิจฉัยโรค Polymyalgia rheumatica และ Temporal arteritis (ESR ปกติก็ยังวินิจฉัยสองโรคนี้ได้ถ้ามีเกณฑ์อื่นครบ)
  5. ช่วยวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดเหล็กในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังอยู่ด้วย (กรณีนั้น Ferritin จะไม่ต่ำ และ % Transferrin saturation ก็อาจไม่ลดเพราะตัวพาลดลงตามปริมาณธาตุเหล็ก) ไปที่หน้า กราฟช่วยวินิจฉัย
  6. เป็นตัวคัดกรองภาวะ/โรคที่เกิดจากการอักเสบ (Inflammatory diseases), การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ (Tissue injury), การติดเชื้อ, และมะเร็ง
  7. เป็นดัชนี้ป่วย (Sickness index) สำหรับผู้สูงอายุ

ค่า ESR อาจสูงเกินจริงในกรณีที่มีโลหิตจาง, ใช้ยาคุมกำเนิด ยาเฮพาริน, หรือแช่เลือดไว้ในตู้เย็น

ค่า ESR อาจต่ำเกินจริงในกรณีที่มีเลือดข้น (polycythemia), เม็ดเลือดแดงรูปร่างผิดปกติ (spherocyte), มีจำนวนเม็ดเลือดขาวมาก, มีน้ำตาลในเลือดสูง, ใช้ยาสเตียรอยด์หรือยาแอสไพรินขนาดสูง

mm/hr

บรรณานุกรม

  1. Christopher P Kellner. 2019. "Erythrocyte Sedimentation Rate." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา Medscape. (8 ตุลาคม 2563).
  2. Malcolm L. Brigden. 1999. "Clinical Utility of the Erythrocyte Sedimentation Rate." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา Am Fam Physician. 1999;60(5):1443-1450. (8 ตุลาคม 2563).
  3. "Erythrocyte sedimentation rate." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา Wikipedia (8 ตุลาคม 2563).
  4. N E van den Broe and E A Letsky. 2001. "Pregnancy and the erythrocyte sedimentation rate." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา BJOG. 2001;108(11):1164-7. (8 ตุลาคม 2563).
  5. พรวรีย์ ลำเจียกเทศ และคณะ. 2000. "การวัดอัตราการตกของเม็ดเลือดแดง โดยเครื่องอัตโนมัติ Ves-Matic 20." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2543;10:283-92 (8 ตุลาคม 2563).
  6. "ESR." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา โรงพยาบาลศิริราช (8 ตุลาคม 2563).
  7. Gretchen Holm. 2019. "Erythrocyte Sedimentation Rate Test (ESR Test)." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา HealthLine (8 ตุลาคม 2563).

คำชี้แจงที่สำคัญ (Disclaimer): ผลการแปลต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้องจากแพทย์ก่อนนำไปใช้วินิจฉัยหรือรักษา ผู้จัดทำมิได้ยืนยันในความถูกต้องของสูตรที่ได้เลือกมาหรือที่ได้ปรับให้เหมาะสม และผลการแปลก็ไม่สามารถทดแทนดุลยพินิจทางคลินิกของแพทย์ได้ ผู้จัดทำจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายอันเกิดจากการที่ผู้ใช้พึ่งพาผลการแปลหรือคำแนะนำในเอกสารนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน